ศิลปะการแกะสลักผักผลไม้
งานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างหลายแขนง การแกะสลักก็เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือเป็นมรดกมีค่าที่สืบทอดกันมาช้านานเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความถนัดสมาธิความสามารถเฉพาะตัวและความละเอียดอ่อนมากการแกะสลักผักและผลไม้เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของชาติไทยเลยทีเดียวซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียบเทียมได้แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ที่มี แนวโน้มจะสูญหายไปและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ
การแกะสลักเป็นมรดกไทยที่มีคุณค่ามากๆ แต่ผู้ที่ดำรงรักษาไว้จะดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบากเพราะในชีวิตประจำวันของคนทั่วๆไปต้องอาศัยปัจจัย คือ เงิน เพื่อการยังชีพ การแกะสลักต้องใช้เวลาในการทำเพื่อให้สวยงามนานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักมีอายุการคงทนน้อย เช่นผัก ผลไม้จึงเป็นที่นิยมเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆผักที่นิยมนำมาแกะสลัก ได้แก่ ฟักทองฟักเขียว แครอท บีทรูท กะหล่ำปลี แตงกวา มะเขือ มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ เผือก กระเจี๊ยบ มะระขี้นก และน้ำเต้า คุณสมบัติของผักที่จะนำมาแกะสลักควรเป็นผักสดผิวเรียบไม่มีรอยช้ำจะทำให้งานแกะสลักสวยงามและอยู่ทนผลไม้ที่นิยมนำมาแกะได้แก่ แตงโม มะละกอ แคนตาลูป มะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง สับปะรด ละมุด ส้มโอและพุทรา
สำหรับวิธีการเก็บรักษางานแกะสลักผักและผลไม้ เมื่อแกะเสร็จแล้วควรใช้กระบอกฉีดน้ำฉีดให้ทั่วชิ้นงานและใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆ คลุมไว้และควรเก็บไว้ในที่มีอากาศเย็นหรือในห้องปรับอากาศ ถ้าจะเก็บงานแกะสลักไว้ใช้ในงานต่อไป ควรใช้กระบอกฉีดน้ำฉีดให้ทั่วชิ้นงานใส่ถุงพลาสติกเป่าลมให้ถุงพองปิดปากถุงให้แน่นไม่ให้อากาศเข้าออกได้ และนำไปแช่ตู้เย็นชั้นล่างสุดหรือเก็บในห้องปรับอากาศ
การแกะสลักลวดลายต่างๆ โดยทั่วไปมักจะจับมีดแบบการจับดินสอ หรือ ปากกา อาจจะกล่าวได้ว่า การแกะสลักนั้นเหมือนกับการเขียนหนังสือ ที่สามารถลาก ดินสอ หรือปากกาไปในทิศทางต่างๆได้ตามที่ต้องการ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Believe and Culture Carving "PUMPKIN" โดย Areerat Ketpaen อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NoDerivatives 4.0 International.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น